อาหารฤทธิ์เย็น

อาหารฤทธิ์เย็น

                  กลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำตาล เส้นขาว (เส้นหมื่, เส้นก๋วยต๋วยที่ไม่มีน้ำมัน) วุ้นเส้น ข้าวขาว ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง (เหลือง) เป็นต้น อาหารกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ให้พลังงานความร้อน ถ้ากินมากเกินไป ก็จะทำให้ร้อนเกิน สำหรับน้ำตาล เส้นขาว วุ้นเส้น และข้าวขาวจะกินเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาที่ร่างกายขาดน้ำตาล แล้วต้องการพลังงานอย่างรวดเร็วหรือมีภาวะร้อนเกินอย่างมาก จนถึงขั้นที่เมื่อกินข้าวซ้อมมือหรือกินข้าวกล้องแล้วเกิดอาการร้อนเกินเท่านั้น เพราะน้ำตาล เส้นขาว วุุ้นเส้น  และข้าวขาว เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานความร้อนน้อยที่สุดแต่เคลื่อนที่หรือดูดซึมเร็วที่สุดและหมดฤทธิ์เร็วที่สุด แต่ขั้นตอนการสันดาบเป็นพลังงานนั้นต้องไปดึงวิตามินที่มีอยู่ในร่างกายมาใช้ ดังนั้นถ้ากินเป็นประจำร่างกายจะขาดวิตามินและแร่ธาตุสำคัญรวมถึงไฟเบอร์ซึ่งมีอยู่มาก ในข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง ดังนั้นถ้าร่างกายเริ่มทุเลาอาการร้อนเกินลงและเริ่มมีความรู้สึกว่า กินอาหารกลุ่มนี้แล้วไม่อยุู่ท้อง (หิวบ่อย หิวง่าย พลังงานหรือเรี่ยวแรงหมดเร็วกว่าปกติ) ให้ปรับมากินข้าวซ้อมมือและข้าวกล้องตามลำดับ โดยปกติก็ควรจะกินข้าวซ้อมมือและข้าวกล้องตามลำดับ โดยปกติก็ควรจะกินข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้องเป็นหลัก  เพราะมีไฟเบอร์วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มากกว่าคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่น ๆ

                    กลุ่มโปรตีนฤทธิ์เย็น เช่นถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เห็ดผาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดลม (เห็ดบด) เห็ตาโล่ เห็ดตีนตุ๊กแก เป็นต้น

                    กลุ่มผักฤทธิ์เย็น   เช่น อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ผักบุ้ง ตำลึง ก้านตรง ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า บวบ ฟัก แฟง แตงต่าง ๆ มะละกอดิบหรือห่าม พญายอ (เสลดพังพอนตัวเมีย) สายบัว หยวกกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ หัวปลี ยอดฟักข้าว ยอดฟักแม้ว มะรุม หญ้าปักกิ่ง ว่านกาบหอย ว่านหางจระเข้ ว่านมหากาฬ ว่านง๊อก ทูน (ตูน) ถั่วงอก มะเขือเทศ กะหล่ำดอก บล๊อคเคอรี่ กวางตุ้ง ผักกาดขาว หัวไขเท้า (ผักกาดหัว) ผักกาดหอม (ผักสลัด) อีหล่ำ อีสึก (ขุนศึก) ย่างนางเขียว-ขาว หมอน้อย ใบเตย รางจืด เหงือกปลาหมอ ลิ้นปี่ ผักแว่น ผักโหบเหบ มังกรหยก ผักติ้ว ดอกสลิด (ดอกขจร) มะเดื่อ มะอึก ดอกแค ฟังทองอ่อน ยอดฟักทอง ดอกฟักทอง ผักโสมไทย ยอดมะม่วงหิมพานต์ ใบก้างปลา ใบมะยม ตังโอ๋ ข้าวโพด ขนุนดิบ ใบมะขาม ใบส้มป่อย ส้มเสี้ยว ส้มรม สัมกบ เป็นต้น 
                     
                    สำหรับผักพาย ใบบัวบก และมะเขือพวง หรือพืชรสขมทุกชนืดเป็นร้อนดับร้อน

                    ถ้าพืชรสขมชนิดนั้น ๆ สามารถดับร้อนในตัวเราได้ ร่างกายก็จะเย็นลง คือรู้สึกสบายขึ้นหรือไม่เกิดอาการผิดปกติใด ๆ หรือชิมน้ำปัสสาวะแล้วไม่ขม แต่ถ้าขมชนิดนั้น ๆ ดับร้อนในร่างกายไม่ได้ หรือเรากินมากเกิน ร่างกายก็ยิ่งร้อนมากขึ้น คือมีอาการไม่สบายมากขึ้น  หรือเมื่อชิมน้ำปัสสาวะจะมีรสขม ถ้าเกิดอาการดังกล่่าวให้เรางดหรือลดของขมชนิดนั้น ๆ  

                     สำหรับพืชรสฝาดและรสเปรี้ยว แม้ว่าบางชนิดจะมีฤทธิ์เย็น แต่ถ้ากินมาไปก็จะทำให้ร้อน และพืชที่มีรสฝาดก็ควรกินคู่เปรี้ยว สำหรับในกรณีที่อากาศร้อน หรือตอนเที่ยงวัน หรือตอนที่ร่างกายกำลังร้อนมาก ต้องระวังอาหารที่หวานจัด เปรี้ยวจัด มันจัด เผ็ดจัด เค็มจัด เพราะจะทำให้ร้อนมากขึ้น อาหารรสจัดดังกล่าว อาจกินในปริมาณเล็กน้อยได้ พอเหมาะในช่วงที่อากาศเย็น เช่นตอนเช้าหรือตอนเย้น หรือในตอนที่ร่างกายมีภาวะเย็นเกินก็จะเป็นประโยชน์กับร่างกาย

                     
                     กลุ่มผลไม้ฤทธิ์เย็น   เช่น มังคุด มะยม แตงโม แตงไทย แคนตาลูป สับปะรด ส้มโอ ส้มเช้ง ส้มซ่า ส้มเกลี้ยง กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก แก้วมังกร กระท้อน ลูกหยี เชอรี่ พุทรา สมอไทย ชมพู่ มะขวัด มะดัน มะละกอดิบ หรือห่าม (มะละกอสุกจะร้อนเล็กน้อย) มะม่วงดิบ มะขามดิบ หมากเม่า หมากผีผ่วน น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว ลูกท้อ แอบเปิ้ล สาลี่ ลางสาด สตรอเบอรี่ ทับทิมขาว เป็นต้น

                      การกินผลไม้ ถ้ารสเปรี้ยวไม่เสียวฟัน ไม่กินก่อนผลไม้หวาน แต่ถ้าเสียวฟัน ให้งดการกินเปรี้ยวนั้นเสีย ส่วนผลไม้ที่หวานไม่ว่าจะมีฤทธิ์เย็น หรือฤทธิ์ร้อนไม่ควรกินมากเกิน เพราะร่างกายจะได้รับน้ำตาลมากเกินไป เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ๒ ลักษณะ 

                       ๑. ร่างกายไม่เผาผลาญน้ำตาล น้ำตาลจะตกค้างในร่างกายมากเกินไป ขัดขวางการไหลเวียนของสารต่าง ๆ และเลือดลมในร่างกาย 
                       ๒. ถ้าร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมากเกินไปจะทำให้ร่างกายขาดวิตามิน ที่ถูกนำมาใช้ในการเผาผลาญน้ำตาลที่มากเกินไป จะเผาทำร้ายเซลล์เนื้อเยื่อของร่างกาย ดังนั้นควรกินผลไม้หวานเพียงเล็กน้อยแค่พอดีสบาย

                        เทคนิคการกินผลไม้ไม่ว่าชนิดใด ๆ ก็คือให้กินเท่าที่รู้สึกสดชื่น สบาย มีกำลังเต็มตามฤทธิ์ของผลไม้นั้น ๆ ถ้ากินมากไปก็จะไม่สบายและอ่อนกำลัง



ที่มา : หนังสือ ถอดรหัสสุขภาพเล่ม ๒
                       ความลับฟ้า หน้าที่ ๗๒- ๗๕
           



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น