อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
ซึ่งสามารถใช้อาหารปรับสมดุล และการฝึกจิตบำบัดหรือบรรเทาได้มีดังต่อไปนี้
๑.
ตาแดง ตาแห้ง
แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้น เหนียวหรือไม่ค่อยมีขี้ตา หนังตาตก ขนคิ้วร่วง
ขอบตาคล้ำ
๒.
มีสิว ฝ้า
๓.
มีตุ่มแผลในช่องปากด้านล่าง
ร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ
๔.
นอนกรน
ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย
๕.
ผมร่วง
หงอกก่อนวัย มีรังแค รูขุมขนขยายโดยเฉพาะบริเวณหน้าอก คอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
๖.
ไข้ขึ้น ปวดหัว
ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว
๗.
มีเส้นเลือดขอด
ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เส้นเลือดฝอยแตกใต้ผิวหนัง พบรอยจ้ำเขียวคล้ำ
๘.
ปวดบวมแดง
ร้อนตามร่างกายหรือตามข้อ
๙.
กล้ามเนื้อเกร็งค้าง
กดรู้สึกเจ็บ เป็นตะคริวบ่อย ๆ
๑๐.
ผิวหนังปกติคล้ายมีรอยไหม้
เกิดฝีหนอง น้ำเหลืองเสียตามร่างกาย
๑๑.
ตกกระสีน้ำตาลหรือสีดำตามร่างกาย
๑๒.
ท้องผูก อุจจาระแข็งหรือเป็นก้อนเล็ก
ๆ คล้ายขี้แพะ บางครั้งมีท้องเสียแทรก
๑๓.
ปัสสาวะปริมาณน้อย
สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ถ้าเป็นมาก ๆ จะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ
หรือมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะด้วย มักลุกปัสสาวะช่วงเที่ยงคืน-ตี ๒ (คนที่ร่างปกติสมดุล จะไม่ลุกปัสสาวะกลางคืน)
๑๔.
ออกร้อนท้อง
แสบท้อง ปวดท้อง บางครั้งมีอาการท้องอืดร่วมด้วย(ท้องอืด แต่เดิมเป็นภาวะเย็นเกิน
ปัจจุบันเกิดจากภาวะร้อนเกิน)
๑๕.
ผิวหนังมีผื่น
ปื้นแดง คันหรือมีตุ่มใสคัน
๑๖.
เป็นเริม งูสวัด
สะเก็ดเงิน โรคหนังแข็ง
๑๗.
หายใจร้อน
เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลืองหรือสีเขียว บางทีมีเสมหะพันคอ ไอ
๑๘.
โดยสารยานยนต์มักอ่อนเพลีย
และหลับขณะเดินทาง
๑๙.
เลือดกำเดาออก
๒๐.
มักง่วงนอนหลังกินข้าวอิ่มใหม่
ๆ
๒๑.
เป็นมากจะยกแขนขึ้นไม่สุด
ไหล่ติด
๒๒. เล็บมือเล็บเท้าขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย มีสีน้ำตาลหรือดำคล้ำ
อักเสบบวมแดงที่โคนเล็บ เล็บขบ
๒๓.
หน้ามืด เป็นลม
วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน
มักแสดงอาการเมื่ออยู่ในที่อับหรืออากาศร้อนหรือเปลี่ยนอริยบทเร็วเกิน
หรือทำงานเกินกำลัง
๒๔.
เจ็บเหมือนมีเข็มแทง หรือไฟฟ้าช๊อต
หรือร้อนเหมือนไฟเผาตตามร่างกาย
๒๕.
อ่อนล้า
อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย
๒๖.
รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก
๒๗. เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมาก ถ้าเป็นมาก ๆ จะเจ็บแปล๊บที่หน้าอก
อาจร้าวไปแขน
๒๘.
เจ็บคอ เสียงแหบ
คอแห้ง
๒๙.
หิวมาก หิวบ่อย
หูอื้อ ตาลาย ลมออกหู หูตึง
๓๐.
สะอึก
๓๑.
ส้นเท้าแตก เจ็บ
อักเสบ รองช้ำ ออกร้อน บางครั้งเหมือน ไฟช๊อต
๓๒.
เกร็ง ชัก
๓๓.
โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
เช่น โรคหัวใจ หวัดร้อน ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ ตับอักเสบ
กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด
ปวดมดลูก หอบหืด ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วในไต นิ่วกระเพาะปัสสาวะ นิ่วถุงน้ำดี
กระเพะปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต โรคเกาต์ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เนื้องอก
มะเร็ง พิษของแมลงสัตว์กัดต่อย เป็นต้น
ที่มา: หนังสือความลับฟ้า หน้า ๖๖-๖๘
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น