อาการหรือโรคแบบเย็นเกิน

อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน
            สำหรับภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกินนั้น ปัจจุบันพบได้น้อย ถึงแม้พบอาการของภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกินก็มักจะเป็นสภาพที่มีสาเหตุจากภาวะร้อนเกินแล้วตีกลับเป็นเย็น ซึ่งก็ต้องแก้ที่สาเหตุร้อนเกินอยู่ดี และการแก้ภาวะเย็นเกินที่เกิดจากการตีกลับจากร้อนนั้น มีความแตกต่างจากการแก้ภาวะเย็นที่เกิดจากเย็นเกิน ซึ่งผู้เขียนจะได้ชี้แจงรายละเอียดในตอนต่อไป สำหรับตอนนี้ขอบอกลักษณะอาการที่บ่งถึงภาวะเย็นเกินดังนี้
๑.     หน้าซีดผิดปกติจากเดิม
     ๒.   มีตุ่มหรือแผลในปากด้านบน
     ๓.   ตาแฉะ ขี้ตามาก ตามัว
     ๔.   เสมหะมาก ไม่เหนียว สีใส
     ๕.   หนักหัว หัวตื้อ
     ๖.    ริมฝีปากซีด 
     ๗.   ขอบตา หนังตาบวมตึง 
     ๘.   เฉื่อยชา เคลื่อนไหวช้า คิดช้า ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งกระปรี้กระเปร่า    
     ๙.     ไอ อาการมักทุเลาเมื่อถูกภาวะร้อน
    ๑๐.   ผิวหน้าบวมตึง แต่ไม่ร้อน
    ๑๑.   เจ็บหน้าอกด้านขวา
    ๑๒. หายใจไม่อิ่ม
    ๑๓.  ท้องอืด จุกเสียดแน่น
    ๑๔.  ปัสสาวะสีใส ปริมาณมาก
    ๑๕.   อุจจาระเหลวสีอ่อน มักท้องเสีย
    ๑๖.    มือเท้าเย็น มึนชา สีซีดกว่าปกติ
    ๑๗.  ตกกระสีขาว
    ๑๘.  มักมีเชื้อราขาวตามผิวหนังหรือที่เล็บมือ เล็บเท้า
    ๑๙.   เล็บยาวแคบกว่าปกติ (มีความยาวของเล็บมากกว่าความกว้างมาก) ตัวเล็บและโคนเล็บมีสี        ขาวซีดกินพื้นที่มากเกินปกติ
     ๒๐. เท้าบวมเย็น
             จากประสบการณ์ของผู้เขียน เมื่อพบภาวะไม่สมดุลของร่างกายผู้เขียนจะแก้ภาวะร้อนเกินเป็นหลัก หรือเมื่อพบอาการแบบเย็นเกิน ถ้าเราแก้ภาวะเย็นแล้ว อาการไม่ดีขึ้น แสดงว่าเป็นอาการที่ตีกลับจากร้อนเกิน ให้แก้ภาวะร้อนเกิน-เย็นเกิน


ที่มา:ใจเพชร กล้าจน(หมอเขียว)
หนังสือความลับฟ้า หน้า ๖๙-๗๐


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น