อาหารฤทธิ์ร้อน

อาหารฤทธิ์ร้อน
                                กลุ่มคาร์โบไฮเตรต  เช่น ข้าวหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ (ข้าวก่ำ ข้าวนิล) ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ เผือก มัน กลอย อาหารหวานจัด ขนมปัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง เป็นต้น

                                กลุ่มโปรตีนฤทธิ์ร้อน  เช่น เนื้อ นม ไข่ เห็ดโคน (เห็ดปลวก) เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดหอม เห็ดหลินจือ ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วสลิง ถั่วทอด ทุกชนิด โปรตีนจาพืชและสัตว์ที่หมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว มิโสะ โยเกริ้ต ซีอิ้ว แทมเป้ กะปิ น้ำปลา ปลาร้า เป็นต้น

                                กลุ่มไขมัน เช่น รำข้าว จมูกข้าว ลูกก่อ งา เนื้อมะพร้าว กะทิ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดอัลมอลล์ เมล็ดฟักทอง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดกระบก น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ เป็นต้น

                                กลุ่มผักฤทธิ์ร้อน  ได้แก่ ผักที่มีรสเผ็ด เช่น กระชาย กระเพรา ยี่หร่า โหระพา พริก แมงลัก กุ้ยช่าย (ผักแป้น) ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง กระเทียม ผักชี พริกไทย (ร้อนมาก) ขิง ข่า (ข่าแก่จะร้อนมาก) ขมิ้น ไพล ใบมะกรูด ตะไคร้ เครื่องเทศ เป็นต้น

                                นอกจากนี้ยังมีพืชบางชนิดที่ไม่มีรสเผ็ดแต่มีฤทธิ์ร้อน (มีพลังงานความร้อนหรือแคลลอรี่ที่มาก) เช่น คะน้า แครอท บีทรูท กะหล่ำปลี ชะอม ถั่วฝักยาว ถั่วพลู สะตอ ลูกเนียง กระเฉด ลูกตำลึง ฟักทองแก่  โสมจีน โสมเกาหลี แปะตำปึง (ร้อนเล็กน้อย) ผักกาดเขียวปลี ใบยอ ผักโขม ใบปอ ผักแขยง  ยอดเสาวรส หน่อไม้ เม็ดบัว ไข่น้ำ (ผำ) สาหร่ายทะเล สาหร่ายน้ำจืด  (เทา) ไหลบัว รากบัว แพงพวยแดง ใบยอดและเมล็ดกระถิน พืชที่มีกลิ่นฉุน เป็นต้น

                                กลุ่มผลไม้ฤทธิ์ร้อน เป็นกลุ่มผลไม้ที่ให้น้ำตาล วิตามินหรือ ธาตุอาหารที่นำไปสู่กระบวนการเผาผลาญเป็นพลังงานความร้อน (แคลอรี่) ที่มาก เช่น ฝรั่ง ขนุนสุก ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย ทุเรียน น้อยหน่า สละ องุ่น ส้มเขียวหวาน กล้วยไข่ (สำหรับกล้วยหอมทองและกล้วยหอมเขียวมีรสหวานจัดจึงมักออกฤทธิ์ตีกลับเป็นร้อน) มะตูม ละมุด กล้วยปิ้ง ลูกลำดวน ลูกย่างม่วง ลูกยางเขียว ลุกยางเหลือง ลองกอง กระทกรก (เสาวรส) มะเฟือง มะปราง สมอพิเภก มะไฟ มะแงว ทับทิมแดง มะม่วงสุก ลูกยอ กระเจี๊ยบแดง ระกำ (ร้อนเล็กน้อย) มะขามสุก (ร้อนเล็กน้อย) เป็นต้น

                                อาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมาก ถ้ากินมากไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก เช่น
                                อาหารที่ปรุงเค็มจัด มันจัด หวานจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ฝาดจัดและขมจัด 
                                อาหารกลุ่มไขมัน เช่น รำข้าว จมูกข้าว ลุกก่อ งา เนื้อมะพร้าว กะทิ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดอัลมอลล์  เมล็ดฟักทอง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ น้ำมันพืช เป็นต้น
                                เนื้อ นม ไข่ ที่มีไขมันมาก รวมถึงที่มีสารแร่งสารเคมีมาก
                                พืชผักผลไม้ ที่มีสารเคมีมาก
                                อาหารที่ปรุงผ่านความร้อนนาน ๆ ผ่านความร้อนหลายครั้ง ใช้ไฟแรงหรือใช้คลื่นความร้อนแรง
                                อาหารใส่สารสังเคราะห์ ใส่สารเคมี
                                อาหารใส่ผงชูรส
                                สมุนไพรหรือยากที่กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดหรือบำรุงเลือด
                                วิตามิน แร่ธาตุและอาหารเสริมที่สกัดเป็นน้ำ เป็นผง หรือ เป็นเม็ด ยกเว้น มีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าขาดสารดังกล่าว
                                เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือน้ำตาลที่มากเกินไป เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
                                อาหารที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมอม ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง อาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง น้ำหมัก ข้าวหมาก ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารทะเล (จะมีทั้งไขมันและโซเดียมสูง) เป็นต้น
                                น้ำร้อนจัด น้ำเย็นจัด และน้ำแข็ง
                                โดยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนว่าจะงดหรือลดอะไรแค่ไหน ที่ทำให้เกิดสภาพโปร่งโล่งสบาย เบากายและกำลังเต็มที่สุด

ที่มา : หนังสือ ถอดรหัสสุขภาพเล่ม ๒
                      ความลับฟ้า หน้า  ๗๕-๗๘


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น